Category: book

พูดคุยเรื่อง Unplugged Coding ในรายการ Live@จันทรเกษม (27 ม.ค. 63)

ผม (Mock – ผนวกเดช สุวรรณทัต) ได้มีโอกาสไปนั่งพูดคุยเรื่อง Unplugged Coding และหลักสูตรวิทยาการคำนวณ ร่วมกับพี่แทนไท (ดร. แทนไท ประเสริฐกุล) และพี่ต้นไม้ (คุณกันติพจน์ สิริภักดิสกุล) ในรายการ Live@จันทรเกษม ที่สนามหญ้าริมรั้วกระทรวงศึกษาธิการ Highlights:

More/อ่านต่อ ...

ตัวอย่างเนื้อหาหนังสือเรียนวิทยาการคำนวณ สสวท. (โป้งก้อยอิ่ม) จากเว็บของ สพฐ.

ชั้นประถมศึกษา ป.1 https://academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1545362383_example.pdf ป.2 https://academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1547785561_example.pdf ป.3 https://academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1580276794_example.pdf ป.4 https://academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1545362561_example.pdf ป.5 https://academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1547785633_example.pdf ป.6 https://academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1580277690_example.pdf ข้อมูลเพิ่มเติม เว็บไซต์ของ สพฐ. ที่ใช้สำหรับดูตัวอย่างหนังสือเรียนเล่มอื่น ๆ https://academic.obec.go.th/textbook

More/อ่านต่อ ...

ป.1 เขาเรียน coding กันยังไง?

กว่าจะมาถึงโจทย์ช้างกินอ้อย เด็ก ๆ จะได้เรียนอะไรมาบ้าง? บทที่ 1: ฝึกให้รู้จักเปรียบเทียบ (อะไรเหมือน อะไรต่าง) บทที่ 2​: ฝึกให้คิดเป็นขั้นตอน จากกิจวัตรประจำวัน (ตื่น แปรงฟัน แต่งตัว ไปโรงเรียน) บทที่ 3: ฝึกการลองผิดลองถูก

More/อ่านต่อ ...

แอบดูคุณครูก้อย สอน ป.5 บท 1 ตุ๊กตาแม่ลูกดก

โดยคุณครูวารุณี บำรุงสวัสดิ์ โรงเรียนอนุบาลนครพนม สอนเรื่อง algorithm และความสำคัญของความชัดเจนในการเขียนอธิบาย algorithm นักเรียนได้ทดลองปฏิบัติจริง ผ่านสิ่งของที่จับต้องได้ (เรียงตุ๊กตาแม่ลูกดก) นักเรียนได้ฝึกเขียน algorithm ลงบนกระดาษ/กระดาน โดยวิธีการเขียนที่ถูกต้องมีมากมายหลายแบบ อ่านโครงสร้างเนื้อหา ป.5 ตามหนังสือ สสวท. ได้ที่นี่

More/อ่านต่อ ...

มีจิตใจเพื่อชุมชน – Community Awareness

ชุมชนที่เข้มแข็ง คือรากฐานของสังคมที่เจริญรุ่งเรือง วิชาวิทยาการคำนวณเป็นวิชาที่เตรียมพร้อมเด็กสู่สังคมดิจิทัล ดังนั้น แบบเรียนของ สสวท. ระดับประถมศึกษา ฉบับการ์ตูน #โป้งก้อยอิ่ม จึงมุ่งปลูกฝังค่านิยมแห่งความรับผิดชอบต่อสังคมให้กับเด็ก  เทคโนโลยีดิจิทัลส่งผลกระทบต่อคำว่า “ชุมชน” ในหลายทิศทาง ทั้งในแง่บวก แง่ลบ และแง่ที่ยังตีความไม่ได้ว่าเป็นบวกหรือลบ เราหวังว่าเด็กที่กำลังเรียนรู้พลังแห่งโลกดิจิทัล จะพยายามนำเทคโนโลยีไปใช้ในแง่ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ในแง่หนึ่งที่ YouTube

More/อ่านต่อ ...

รู้จักรับ รู้จักให้ – Knowing How to Give

เด็กๆ มักเรียนรู้จากตัวอย่างมากกว่าคำสอน ถ้าเขาได้เห็นพ่อแม่ ติดเกม เสพดราม่า ติด social network เขาก็จะมองว่าประโยชน์ของคอมพิวเตอร์คือเพื่อความบันเทิง  หลักสูตรวิทยาการคำนวณต้องสอนให้เด็กผันตัวจากผู้เสพ มาเป็นผู้สร้าง เปลี่ยนจากผู้ใช้แบบเฉื่อยชา (passive user) มาเป็นผู้ใช้เชิงรุก (active user)   แต่จะสร้างอะไร? รุกอะไร?

More/อ่านต่อ ...

สานต่อความเป็นไทย – Thailand Context

#โป้งก้อยอิ่ม หนังสือ coding ที่ร่วมสืบสานความเป็นไทย  ทีมผู้เขียนเชื่อว่า “ความเป็นไทย”​ ไม่ควรเป็นเพียงแค่ภาพสวยสำหรับตกแต่ง  แต่ควรเป็นส่วนสำคัญของการขับเคลื่อนเนื้อเรื่อง  เช่น  เมื่อน้องอิ่มใส่ชุดไทย ก็ไม่ใช่แค่เพียงเพราะเป็นชุดที่สวย แต่เพื่อที่จะสื่อถึงเนื้อเรื่องที่น้องอิ่มทำตามชุดคำสั่งสำหรับรำไทย (ป.4)  และข้อดีข้อเสียของการเขียนชุดคำสั่งนี้ในรูปแบบบัตรคำสั่ง หรือโปรแกรมภาษา Scratch เมื่อโป้งก้อยเล่นเกมโดยใช้กระดานชนวน กระดานชนวนก็ไม่ใช่แค่เครื่องประดับฉาก แต่เป็นเครื่องมือการสอนการเขียนโปรแกรมแบบมีเงื่อนไขร่วมกับซองคำสั่ง (ป.2)

More/อ่านต่อ ...

กล้าก้าวไปไม่ย่อท้อ – Growth Mindset

#โป้งก้อยอิ่ม หนังสือเรียนที่ส่งเสริม growth mindset (ความกล้าก้าว) เราต้องการให้เด็กไทย ช่างคิด ชอบคิด คิดเป็น แต่เราไม่ได้ตั้งเป้าว่าทุกคนจะต้องคิดเก่งถึงขั้นอัจฉริยะ เราเพียงต้องการให้เขาสนุกกับการคิด และเคยชินกับการคิดไม่ออก หรือคิดผิดบ้างในบางครั้ง แต่เมื่อใดก็ตามที่ทำพลาด เราหวังว่าเด็กจะลุกขึ้นมาพยายามใหม่อีกครั้ง เราหวังว่าเขาจะเห็นตัวอย่างจากตัวละครที่ไม่ได้ perfect แต่เติบโตไปพร้อมกับผู้อ่าน โป้งและก้อยเป็นคนชอบเรียนรู้ กล้าทดลอง แต่ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่า

More/อ่านต่อ ...

ฉลาดเลือกฉลาดใช้ – Smart Use of Technology

ไม่ได้หมายถึงการใช้เทคโนโลยีที่ฉลาด แต่หมายถึงความฉลาดพอที่จะเลือกได้ว่า งานใดควรทำด้วยเทคโนโลยี งานใดควรลงมือทำด้วยตนเอง  โป้ง ก้อย อิ่ม หนังสือคอมฯ ที่สอนให้เด็กไม่ยึดติดกับคอมฯ คอมพิวเตอร์นั้นมีประโยชน์มหาศาล แต่งานบางอย่างที่มีคุณค่าทางจิตใจ มนุษย์ควรทำเอง เช่น การเสริฟอาหารของป้าพร หรือการซักผ้าตากผ้าของคุณพ่อ ตั้งแต่ชั้น ป.1 – ป.6 ทีมผู้เขียน

More/อ่านต่อ ...

ใครเขียน #โป้งก้อยอิ่ม?

อยากชวนคุณพ่อคุณแม่ หยิบหนังสือแบบเรียนลูกขึ้นมาดูว่าใครเขียน? เขียนทำไม? พิมพ์ที่ไหน? ใครขายและใครร่ำรวย?  สำหรับหนังสือ #โป้งก้อยอิ่ม สสวท. เป็นเจ้าภาพในการเขียน โดยมีนักวิชาการภายนอกช่วยกันเขียน ทุกคนเขียนเพื่อให้ลูกหลานตัวเองได้อ่าน ไม่ใช่เพื่อหากำไร ดังนั้นจะต้องไม่ใช่งานเร่งงานลวก หนังสือจะต้องสนุก คุณภาพระดับพรีเมี่ยม องค์การค้าของ สกสค. (คุรุสภา) จัดพิมพ์ ​ร้านศึกษาภัณฑ์พาณิชย์

More/อ่านต่อ ...