Category: faq

FAQ: วิชาวิทยาการคำนวณ จะเพิ่มความเหลื่อมล้ำหรือไม่? ผู้ออกแบบหลักสูตรนึกถึงโรงเรียนห่างไกลบ้างหรือเปล่า?

ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเป็นสิ่งที่ควรแก้ไขโดยเร่งด่วน การพิจารณาว่าหลักสูตรนี้จะทำให้ความเหลื่อมล้ำมากขึ้นหรือน้อยลง เป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างยิ่ง ในหลักสูตรเก่าที่เน้นการสอนคอมพิวเตอร์เป็นเสมือนอาชีพหนึ่ง จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนเกือบจะทั้งหลักสูตร แต่ในหลักสูตรใหม่เราสอนในลักษณะของวิทยาศาสตร์ เน้นกระบวนการคิดมากกว่ารายละเอียดทางเทคนิค การสอน coding มีส่วนที่ไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น ดังนั้น ในแง่นี้ หลักสูตรใหม่ก็มีความเหลื่อมล้ำน้อยกว่าหลักสูตรเก่าเสียอีก แต่ แน่นอนครับ ความเหลื่อมล้ำยังคงมีอยู่ โรงเรียนทุกโรงเรียนควรมีคอมพิวเตอร์เพียงพอ มีครูเพียงพอ ครูควรมีโอกาสเข้ารับการอบรมเพียงพอ มีภาระงานที่เหมาะสม

More/อ่านต่อ ...

FAQ: เรียน ​coding ได้โดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ จริงหรือ?​ [fact & opinion]

บทความนี้เขียนโดย ผนวกเดช สุวรรณทัต มีทั้งข้อเท็จจริง และความคิดเห็นซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง ก่อนอื่นขอวางตนให้ชัดเจน ผมไม่มีหน้าที่ปกป้องนักการเมืองท่านใดทั้งนั้น ไม่ว่าผมจะรักหรือไม่รักเขาก็ตาม สำหรับกรณีนี้ผมขอให้ข้อเท็จจริงทางวิชาการก่อนนะครับ ข้อเท็จจริง (Facts) หลักสูตรวิทยาการคำนวณมี 3 แกนหลัก คือ CS-ICT-DL แกนที่นักเรียนต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียน ทั้ง 6

More/อ่านต่อ ...

​FAQ: ตกลงว่าอะไรคือ coding?

ผมจะทดลองอธิบายคำว่า coding ด้วยโวหาร 4 ชนิด: บรรยายโวหาร สาธกโวหาร เทศนาโวหาร และ อุปมาโวหาร ดูนะครับ highlights: [โรงเรียน/ที่ทำงานของผม] เขาก็ไม่ได้มานั่งสอนให้จำแนกแยกแยะความหมายของคำแบบยิบย่อยเช่นนี้ครับ ใครล่ะจะมีอำนาจในการให้นิยามที่คนอื่นต้องเชื่อตาม? อย่าไปสนใจมากนักเลยว่า coding กับ programming มันต่างกันอย่างไร

More/อ่านต่อ ...

FAQ: ใครเป็นผู้ริเริ่มวิชาวิทยาการคำนวณ มีอิทธิพลทางการเมืองหรือไม่?

สสวท.​ พยามยามริเริ่มมาแล้วกว่า 20 ปี ตามคำแนะนำและการผลักดันของนักวิชาการหลายท่าน นำโดย รศ. ยืน ภู่วรวรรณ ที่เห็นว่านักเรียนควรได้เรียนคอมพิวเตอร์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตในทุกสาขาอาชีพ การผลักดันในยุคต้นนี้ผมไม่ได้มีส่วนร่วมด้วย เพราะผมยังเป็นนักเรียน ม.ปลาย อยู่เลย พอผมไปเรียนต่อ กลับเมืองไทยมาก็พบว่า โอโห ความพยายามของอาจารย์ของผมหลายท่าน นำโดยท่าน

More/อ่านต่อ ...

FAQ: เหตุใดหลักสูตรวิทยาการคำนวณ จึงอยู่กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์?

ก่อนหน้านี้ “วิชาคอมพิวเตอร์” อยู่ในกลุ่มสาระการงานพื้นฐานอาชีพ เพราะมุมมองในสมัยนั้นคือวิชานี้เป็นการเรียนโปรแกรมประยุกต์ และใช้งานในสำนักงาน (โปรแกรมตระกูล Office ทั้งหลาย) โตขึ้นใครอยากทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นก็มาเรียนวิชานี้ เหมือนที่มีวิชาจำพวกคหกรรม เกษตรกรรม หัตถกรรม ซึ่งล้วนมีประโยชน์ในการประกอบอาชีพทั้งนั้น มุมมองเช่นนั้น กล่าวได้ว่า ถูกต้องเหมาะสมในยุคหนึ่งที่คอมพิวเตอร์จัดเป็นเครื่องมือหากิน ใครอยากทำกินด้วยวิธีนี้ก็จงมาเรียน ใครไม่สนอาชีพนี้ก็ไม่ต้องเรียน และที่สำคัญ ไม่ต้องเรียนเขียนโปรแกรมเพราะยังไม่ถึงเวลา

More/อ่านต่อ ...

ตัวอย่างความคิดเห็นวิจารณ์หลักสูตรวิทยาการคำนวณ และแนวทางการชี้แจง

ทำไมผมจึงควรตอบความคิดเห็นเหล่านี้? หลักการข้อหนึ่งสำหรับการแสดงความคิดเห็นบนสื่อสังคมในกรณีที่มีผู้แสดงความคิดเห็นที่เราไม่เห็นด้วย คือ เรามีสิทธิ์ที่จะนิ่ง ไม่ตอบโต้  โดยมีผลดีคือเป็นการทำให้เรื่องราวดังกล่าวผ่านไปโดยเร็ว มีคนเห็นน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องส่วนตัวที่เราไม่ต้องการให้ใครพบเห็น การตอบโต้จะยิ่งทำให้ข้อมูลดังกล่าวปรากฏสู่สายตาคนมากขึ้น กรณีนี้ เพจ Drama-Addict นำบทความเกี่ยวกับหลักสูตรวิทยาการคำนวณไปเผยแพร่ นับว่าเป็นเรื่องดี มีผู้แสดงความเห็นทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ทางเลือกหนึ่งของผมในฐานะผู้ที่มีส่วนร่วมในการยกร่างหลักสูตร และร่วมเขียนหนังสือ คือปล่อยผ่าน ไม่ตอบโต้ความเห็นที่ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะความเห็นที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง

More/อ่านต่อ ...

FAQ: สำหรับรายการบ่ายนี้มีคำตอบ ช่อง 9

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับหลักสูตรวิทยาการคำนวณ (บางคำถามก็พบไม่บ่อยหรอกครับ แต่อยากตอบ) เอกสารนี้เตรียมไว้เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2561 สำหรับรายการบ่ายนี้มีคำตอบ ช่อง 9 เพื่อให้ อ.โตโต้ และเมตตา ช่วยกันตอบประชาชนที่โทรศัพท์เข้ามา แต่อาจมีประโยชน์สำหรับสถานการณ์อื่นด้วย คำตอบเขียนโดย ผนวกเดช สุวรรณทัต ตอบในนามส่วนตัว ไม่ใช่คำตอบอย่างเป็นทางการของ

More/อ่านต่อ ...