Month: August 2019

The Standard สัมภาษณ์​ ผศ.ดร.สุกรี : รู้จักวิชาแม่ของ Coding ในระบบการศึกษาไทย กับคำตอบที่มากกว่า ‘ไม่ใช้คอมฯ ได้จริงหรือ’

highlights: ผศ.ดร.สุกรี สินธุภิญโญ ผู้ร่วมพัฒนาหลักสูตรวิทยาการคำนวน เล่าถึงการพาลูกสาวที่สนใจศิลปะ ไปเรียนรู้อัลกอริทึมการวาดไฟ เปรียบเทียบการคิดเชิงคำนวณกับขั้นตอนการคิดของนักถ่ายภาพ และเชื่อมโยงคอนเซ็ปต์ของการ debug โปรแกรม สู่แนวทางการแก้ปัญหาของชีวิต อ.สุกรี พูดถึงการฝึกอบรมครู​ : “ผมเข้าใจเลยครับ ผมก็สอนหนังสือ และวิชาที่ผมสอนคือวิชาใหม่ ผมเองก็ต้องไปเรียนก่อน ทุกวันนี้สอนอะไรก็แล้วแต่ที่ผมไม่เคยเรียนมาตั้งแต่ระดับปริญญาโทและปริญญาเอกด้วยซ้ำไป ไม่เคยเรียนเลยครับ

More/อ่านต่อ ...

แอบพบขุมทรัพย์ ของคุณครูณัฐพล บัวอุไร (รร.สวนกุหลาบฯ รังสิต) – nattapon.com

วันนี้ผมได้พบกับเว็บไซต์สุดอลังการของคุณครูแกนนำวิทยาการคำนวณท่านหนึ่งนามว่า ครูโจ๊ก ผู้ใจดีเขียนบทความแนวทางการจัดหลักสูตรและการสอนวิชานี้ทั้งในระดับประถมและมัธยม และนำมาแบ่งปันแบบไม่กั๊ก แถมยังแจกเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย คุณครูโจ๊ก มีชื่อจริงคือ คุณครู ณัฐพล บัวอุไร โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยรังสิต มีเว็บไซต์อยู่ที่ http://www.nattapon.com บทความเกี่ยวกับหลักสูตรวิทยาการคำนวณ หลายบทความ อยู่ในหน้านี้: http://www.nattapon.com/category/บทเรียน/วิทยาการคำนวณ/ ตัวอย่างบทความที่น่าสนใจ

More/อ่านต่อ ...

อภินิหารหลวงปู่เค็ม Live on Scratch

วิทยาการคำนวณสามารถบูรณาการได้กับทุกวิชา รวมถึงไสยศาสตร์/โหราศาสตร์ หรือ ตลกคาเฟ่ วิธีรับชม Facebook Live: YouTube: รายละเอียด นำเสนอโดย ผนวกเดช สุวรรณทัต (Mock) เผยแพร่ครั้งแรกผ่านการถ่ายทอดสด เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2562 ณ Facebook

More/อ่านต่อ ...

ป.1 เขาเรียน coding กันยังไง?

กว่าจะมาถึงโจทย์ช้างกินอ้อย เด็ก ๆ จะได้เรียนอะไรมาบ้าง? บทที่ 1: ฝึกให้รู้จักเปรียบเทียบ (อะไรเหมือน อะไรต่าง) บทที่ 2​: ฝึกให้คิดเป็นขั้นตอน จากกิจวัตรประจำวัน (ตื่น แปรงฟัน แต่งตัว ไปโรงเรียน) บทที่ 3: ฝึกการลองผิดลองถูก

More/อ่านต่อ ...

นสพ.มติชน: วิชาแห่งอนาคตในคอมพิวเตอร์ ที่ไม่ได้อยู่แต่ในคอมพิวเตอร์ – โดย กล้า สมุทวณิช

highlights: “ถ้าเราจะสอนวิชาสังคมศึกษาและวิทยาศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจในกลไกของโลกและสังคมมนุษย์ได้ตลอดสิบสองปี ความเข้าใจในโลกดิจิทัลที่เป็นส่วนหนึ่งของเราก็สำคัญและจำเป็นในระดับเดียวกัน” “โลกเช่นนี้ เด็กๆ ของเราที่จะโตไปในอีกสิบยี่สิบปีจึงต้องมีทักษะต่างๆ ไว้รับมือ ได้แก่ทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบที่จะสามารถเข้าใจได้ว่าเราต้องการอะไรกันแน่อย่างแท้จริง และเราจะทำอย่างไรให้คอมพิวเตอร์ AI และหุ่นยนต์ทำงานได้ตามความต้องการของเราอย่างไม่ผิดเพี้ยนไปจากเป้าหมาย ที่สำคัญคือจะต้องมีทักษะที่จะแยกแยะข่าวจริงข่าวลวง และการรู้เท่าทันกลไกของเครือข่ายสารสนเทศและสังคมโซเชียล ที่เราเรียกกันว่า Digital Literacy หรือความตระหนักรู้ต่อดิจิทัล” ผู้เขียนยกตัวอย่างโจทย์ในหนังสือ ป.4

More/อ่านต่อ ...

FAQ: วิชาวิทยาการคำนวณ จะเพิ่มความเหลื่อมล้ำหรือไม่? ผู้ออกแบบหลักสูตรนึกถึงโรงเรียนห่างไกลบ้างหรือเปล่า?

ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเป็นสิ่งที่ควรแก้ไขโดยเร่งด่วน การพิจารณาว่าหลักสูตรนี้จะทำให้ความเหลื่อมล้ำมากขึ้นหรือน้อยลง เป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างยิ่ง ในหลักสูตรเก่าที่เน้นการสอนคอมพิวเตอร์เป็นเสมือนอาชีพหนึ่ง จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนเกือบจะทั้งหลักสูตร แต่ในหลักสูตรใหม่เราสอนในลักษณะของวิทยาศาสตร์ เน้นกระบวนการคิดมากกว่ารายละเอียดทางเทคนิค การสอน coding มีส่วนที่ไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น ดังนั้น ในแง่นี้ หลักสูตรใหม่ก็มีความเหลื่อมล้ำน้อยกว่าหลักสูตรเก่าเสียอีก แต่ แน่นอนครับ ความเหลื่อมล้ำยังคงมีอยู่ โรงเรียนทุกโรงเรียนควรมีคอมพิวเตอร์เพียงพอ มีครูเพียงพอ ครูควรมีโอกาสเข้ารับการอบรมเพียงพอ มีภาระงานที่เหมาะสม

More/อ่านต่อ ...

FAQ: เรียน ​coding ได้โดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ จริงหรือ?​ [fact & opinion]

บทความนี้เขียนโดย ผนวกเดช สุวรรณทัต มีทั้งข้อเท็จจริง และความคิดเห็นซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง ก่อนอื่นขอวางตนให้ชัดเจน ผมไม่มีหน้าที่ปกป้องนักการเมืองท่านใดทั้งนั้น ไม่ว่าผมจะรักหรือไม่รักเขาก็ตาม สำหรับกรณีนี้ผมขอให้ข้อเท็จจริงทางวิชาการก่อนนะครับ ข้อเท็จจริง (Facts) หลักสูตรวิทยาการคำนวณมี 3 แกนหลัก คือ CS-ICT-DL แกนที่นักเรียนต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียน ทั้ง 6

More/อ่านต่อ ...

​FAQ: ตกลงว่าอะไรคือ coding?

ผมจะทดลองอธิบายคำว่า coding ด้วยโวหาร 4 ชนิด: บรรยายโวหาร สาธกโวหาร เทศนาโวหาร และ อุปมาโวหาร ดูนะครับ highlights: [โรงเรียน/ที่ทำงานของผม] เขาก็ไม่ได้มานั่งสอนให้จำแนกแยกแยะความหมายของคำแบบยิบย่อยเช่นนี้ครับ ใครล่ะจะมีอำนาจในการให้นิยามที่คนอื่นต้องเชื่อตาม? อย่าไปสนใจมากนักเลยว่า coding กับ programming มันต่างกันอย่างไร

More/อ่านต่อ ...

FAQ: ใครเป็นผู้ริเริ่มวิชาวิทยาการคำนวณ มีอิทธิพลทางการเมืองหรือไม่?

สสวท.​ พยามยามริเริ่มมาแล้วกว่า 20 ปี ตามคำแนะนำและการผลักดันของนักวิชาการหลายท่าน นำโดย รศ. ยืน ภู่วรวรรณ ที่เห็นว่านักเรียนควรได้เรียนคอมพิวเตอร์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตในทุกสาขาอาชีพ การผลักดันในยุคต้นนี้ผมไม่ได้มีส่วนร่วมด้วย เพราะผมยังเป็นนักเรียน ม.ปลาย อยู่เลย พอผมไปเรียนต่อ กลับเมืองไทยมาก็พบว่า โอโห ความพยายามของอาจารย์ของผมหลายท่าน นำโดยท่าน

More/อ่านต่อ ...

FAQ: เหตุใดหลักสูตรวิทยาการคำนวณ จึงอยู่กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์?

ก่อนหน้านี้ “วิชาคอมพิวเตอร์” อยู่ในกลุ่มสาระการงานพื้นฐานอาชีพ เพราะมุมมองในสมัยนั้นคือวิชานี้เป็นการเรียนโปรแกรมประยุกต์ และใช้งานในสำนักงาน (โปรแกรมตระกูล Office ทั้งหลาย) โตขึ้นใครอยากทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นก็มาเรียนวิชานี้ เหมือนที่มีวิชาจำพวกคหกรรม เกษตรกรรม หัตถกรรม ซึ่งล้วนมีประโยชน์ในการประกอบอาชีพทั้งนั้น มุมมองเช่นนั้น กล่าวได้ว่า ถูกต้องเหมาะสมในยุคหนึ่งที่คอมพิวเตอร์จัดเป็นเครื่องมือหากิน ใครอยากทำกินด้วยวิธีนี้ก็จงมาเรียน ใครไม่สนอาชีพนี้ก็ไม่ต้องเรียน และที่สำคัญ ไม่ต้องเรียนเขียนโปรแกรมเพราะยังไม่ถึงเวลา

More/อ่านต่อ ...