Podcast: เรียนโค้ดดิ้งไม่ใช้คอมพิวเตอร์ ! คุยกับ อ.ผนวกเดช สุวรรณทัต (โดยคุณ กล้า สมุทวณิช)
“coding เนี่ยะมันจะมีความหมายแคบหรือกว้างเพียงใด มันจะมีประวัติมายังไงนะครับ เป็นสิ่งที่ถกเถียงกันมันก็สนุกดีนะครับ แต่ถ้าจะถกเถียงเพื่อไปบอกว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิด อีกฝ่ายหนึ่งพูดผิด พูดโดยที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวเนี่ยะ ผมว่าเป็นสิ่งที่อาจจะไม่ค่อยสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์เท่าไหร่นะครับ ลองมาดูกันดีกว่าว่าคำว่า coding ในปัจจุบันเนี่ยะเขาใช้ในความหมายใดกันบ้าง…”
ผนวกเดช สุวรรณทัต (30 ส.ค. 2562)
คำนำ โดย Mock
มาฟังคำนิยามและแง่มุมของคำว่า coding ฉบับที่ไม่ใช่ฝันเอาเอง จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ผู้ผลักดันหลักสูตรวิทยาการคำนวณมาตั้งแต่ยุคเริ่มต้น, Oxford Dictionary, ที่มาของคำในภาษาละติน, และคุณ Kiki Prottsman ผู้พัฒนาหลักสูตรของ Code .org โรงเรียนสอน coding ที่ใหญ่ที่สุดในโลก .. สุดท้าย อ้าว! แล้วจะเชื่อใครดี? มาลุ้นดูสิอาจจะเจอความหวังที่ยังรออยู่ ….
ขอบคุณคุณ กล้า สมุทวณิช ที่ให้โอกาสผมได้คุยออกอากาศร่วมกับนักวิชาการกฎหมายรัฐธรรมนูญครั้งแรกในชีวิตของผมครับ หวังว่าข้อมูลในนี้จะมีประโยชน์กับผู้ที่สนใจหลักสูตรวิทยาการคำนวณทุกท่านครับ
ขอขอบคุณ สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท. (โดยเฉพาะ อ.จิ๊บ Jeeb Jindaporn) ทีมผู้ยกร่างหลักสูตร และผู้เขียนหนังสือแบบเรียน #โป้งก้อยอิ่ม ทุกท่านครับ ทุกงานสำเร็จได้เพราะการร่วมมือร่วมใจของคนหลายคน ด้วยกุศลจิตเพื่อประโยชน์ของลูกหลานของเราครับ
ผนวกเดช สุวรรณทัต
31 ก.ค. 2562
คำนำโดย FB Page “บันทึกของโป้งก้อยอิ่ม”
น้องอิ่มเชิญฟังที่มาที่ไป ก่อนจะเกิดมาเป็น #โป้งก้อยอิ่ม ผู้ผลักดันหลักสูตรต้องฝ่าฟันอะไรมาบ้าง ตั้งแต่สมัยที่ผู้ให้สัมภาษณ์ยังเป็นนักเรียนมัธยมฯ นั่งหัดเขียนโปรแกรมบนเครื่อง 486 จอเขียว อาจารย์ของเขา ซึ่งเป็นอาจารย์ของอาจารย์ของเขาอีกทีหนึ่ง ก็ริเริ่มแนวคิดของการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ให้เป็นวิทยาศาสตร์ เพื่อรองรับสังคมยุคที่สมาร์ตโฟนครองโลก ความคิดที่เหมือนเพ้อฝันในวันนั้นเป็นจริงแล้วในวันนี้ เป็นหลักสูตรที่ชื่อว่า “วิทยาการคำนวณ” (Computing Science)
ผู้ให้สัมภาษณ์เป็นหนึ่งในผู้มีส่วนร่วมแค่ในช่วงปลายทาง แต่คนที่บุกเบิกมาก่อนหน้านั้นมีอีกหลายชีวิต วันนี้เขาได้มาเล่าเรื่องราวผ่านบทสนทนากับคุณพ่อที่ลูกสาวได้เรียนวิชานี้แล้วชื่นชอบ รวมถึงจะตอบคำถามที่คุณพ่อคุณแม่ท่านอื่นฝากมาถามด้วยความเป็นห่วง
coding คืออะไรกันแน่? หลักสูตรนี้ทำให้เหลื่อมล้ำมากขึ้นหรือไม่? ฉันไม่อยากให้ลูกต้องเข้าใกล้เทคโนโลยีก่อนวัยอันควร จะทำอย่างไรดี ไม่บังคับเรียนได้ไหม? ขอเชิญทุกท่านเปิดใจให้กว้าง แล้วกล้าเรียนรู้ไปด้วยกัน ผ่านบทสนทนาระหว่างคนชื่อกล้า และคนชื่อม็อค ในรายการ podcast นี้ครับ
คำนำโดย PB Page สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท.
มาฟังกัน !! เป้าหมายหลักสูตรวิทยาการคำนวณ การถกเถียงเรื่อง Coding และในอนาคต AI จะเก่งกว่ามนุษย์หรือไม่
สัมภาษณ์โดยคุณ กล้า สมุทวณิช นักเขียน นักวิชาการด้านกฏหมายรัฐธรรมนูญ และอีกมุมหนึ่งคือคุณพ่อที่มีความหวังกับอนาคตของประเทศเมื่อได้เห็นหนังสือวิทยาการคำนวณของลูก
และผู้ให้สัมภาษณ์ อ.ม็อค Mock Suwannatat อดีตผู้แทนคอมพิวเตอร์โอลิมปิก อาจารย์ และหนึ่งในทีมผู้เขียนหนังสือวิทยาการคำนวณ ระดับประถมศึกษา ที่มาช่วยปลุกชีวิตชีวาหนังสือเรียนให้ทั้งสนุกและได้ความรู้ในมุมมองที่แตกต่างออกไป
#ComputingScience
#วิทยาการคำนวณ
ข้อมูล podcast:
เรียนโค้ดดิ้งไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ ! มันเป็นไปได้อย่างไร เรียนบนกระดานชนวนกันหรือไร ก่อนจะดรามา มาคุยกับผู้ร่วมออกแบบหลักสตร “วิทยาการคำนวณ” วิชาบังคับ 12 ปี สำหรับเด็กประถมถึงมัธยม วิชาที่รองรับอนาคตของลูกหลานเรา
“กล้าคุย” Podcast คุยทุกเรื่องกับ กล้า สมุทวณิช นักเขียน คอลัมนิสต์ และนักวิชาการด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ
- เผยแพร่เมื่อ 31 กรกฎาคม 2562
- ผู้จัดรายการ: คุณกล้า สมุทวณิช
- ติดตามได้ที่ www.facebook.com/Klasamud/
- ผู้ให้สัมภาษณ์ ผนวกเดช สุวรรณทัต
- ไฟล์ถอดเทป “ถอดเทป-Klatalk-EP32-3.docx”
รับฟังได้ที่ช่องทางดังต่อไปนี้:
- คลิกปุ๊บฟังปั๊บ ไม่ต้องลง app: https://soundcloud.com/theworldgoesfarfar/ep3?fbclid=IwAR0gtIOEfLHbTCEcFNg0Sc5Ns5DhbfE5aM3cXqbQY1q0DG3pmOgqGSpU9_s
- สำหรับ Apple iOS (iPhone, etc) คลิกที่นี่: https://podcasts.apple.com/th/podcast/โลกไปไกลแล-ว/id1157588710?fbclid=IwAR2CHGt-8yrMh9KJ-VSRpk2lGKcQox-nwNfIz7KNlIpb6vjZkroeWRf_VAg#episodeGuid=tag%3Asoundcloud%2C2010%3Atracks%2F658934087
- อ่านบทสนทนา พี่เพจคุณกล้า ได้ที่: https://www.facebook.com/kla.samudavanija.35/posts/198566581133104