บทความ “ประชาพิจารณ์ หลักสูตร ict ของ สสวท” โดย รศ. ดร. พันธุ์ปิติ เปี่ยมสง่า
ประเด็นหลัก
- keyword ของประถมต้น = “Unplugged”
- keyword ของประถมปลาย = “Daily” ซึ่งหมายถึงการใช้ ict กับชีวิตประจำวัน
- keyword ของ ม.ต้น = “primary data”
- keyword ของ ม.ปลาย = “secondary data”
เราจะให้เด็กคิดว่าอะไรควรหรือไม่ควร เนื้อหาบางอย่างได้สอดแทรกเข้าไปเช่น logical fallacy เพื่อให้เด็กสามารถมีตรรกะที่จะต่อต้านข่าวปลอม หรือ พฤติกรรมไม่เข้าท่าในเน็ต เด็กเราจะได้ไม่โดนแชร์ลูกโซ่ หรือ โดนหลอกบริจาคทั้งที่บ้านไม่จนได้
รศ. ดร. พันธุ์ปิติ เปี่ยมสง่า / 28 ส.ค. 2560
เผยแพร่เมื่อ 28 สิงหาคม 2560
อ่านได้ที่: https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10212051362944385
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลการประชาพิจารณ์หลักสูตร
สสวท. ได้ทำการวิเคราะห์ผลการทำประชาพิจารณ์ มีข้อสรุป คร่าวๆ ดังนี้
ผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์หลักสูตรประกอบด้วย ผู้แทนจากมหาวิทยาลัย หน่วยงานเอกชน ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศน์ ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้แทนจากกระทรวงศึกษา ทั้งหมดประมาณ 50 คน โดยเห็นว่าเป็นหลักสูตรที่ดี แต่ห่วงเรื่องว่าในระดับมัธยมอาจจะเหมาะกับเด็กสายวิทย์มากกว่า จึงต้องการให้จัดทำแนวทางการสอนสำหรับเด็กสายศิลป์ด้วย และห่วงเรืองว่าครูอาจสอนไม่ได้ เพราะในหลักสูตรจะใช้คำ หรือภาษา และความรู้ที่เป็นเรื่องที่แตกต่างจากเดิม จึงอยากให้มีการอบรมครู
อ. จินดาพร หมวกหมื่นไวย (สสวท.)