ประชุมระดมความคิดเห็น โดยสภาการศึกษา เรื่อง “แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ โค้ดดิ้ง (Coding) เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21”

Highlights

  1. ผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 70 คน เป็นผู้บริหาร นักวิชาการ ครูจากหลายหน่วยงาน
  2. วันที่ 26 กันยายน 2563 ณ ณ โรงแรมโฟร์วิงส์ สุขุมวิท 26
  3. งานของกลุ่มนโยบายและแผนการศึกษาแห่งชาติ สำนักนโยบายและแผนการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
  4. รศ.ยืน ภู่วรวรรณ เป็นประธานการประชุมและวิทยากร และ รศ.ดร.พันธุ์ปิติ เปี่ยมสง่า เป็นวิทยากรร่วมในการระดมสมอง

Notes

บันทึกโดย Mock (ผนวกเดช สุวรรณทัต เมื่อ 26 ก.ย. 2563)

วันนี้เป็นวันที่ชื่นใจมากเพราะได้มีโอกาสพบปะและพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาจารย์ที่ผมเคารพนับถือหลายท่าน โดยเฉพาะท่าน อ.ยืน และ อ.พันธุ์ปิติ (โอ้วววว! แถมยังได้พบ อ.ประภาส ตัวเป็นๆ ด้วย หลังจากที่เคยพบท่านครั้งล่าสุดเมื่อ 2543) และได้พบปะเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ หลายคน รวมถึงคุณครูแกนนำวิทยาการคำนวณที่แม้จะได้เจอกันบ่อยทางหน้าจอ แต่ตัวเป็นๆ ก็ห่างหายกันไปนาน วันนี้ได้มาพบกัน ถ่ายเซลฟี่ด้วยกันขณะกินขนมเบรก มันช่างสนุกกว่าการทำ screen capture บน Zoom ตั้งเยอะ

ทริปนี้ผมบินจากเชียงใหม่ไปกรุงเทพเมื่อวันศุกร์ ประชุมวันเสาร์แล้วก็บินกลับเชียงใหม่ตอนเย็นเลย ขอบคุณสภาการศึกษาที่เห็นคุณค่าของการระดมสมองจากคนหลากหลาย ผมมองว่า factor สำคัญที่ทำให้งานนี้สำเร็จได้ก็เพราะชื่อเสียงและความนับถือที่คนทุกคนมีต่อท่าน อ.ยืน

เป้าหมายหลัก 4 ข้อ ของกิจกรรมระดมสมองวันนี้คือ

  1. คาดการณ์ความต้องการในอนาคต
  2. มองสถานะ อุปสรรค ในปัจจุบัน
  3. เสนอแนะแนวนโยบาย
  4. วิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ผมได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับเทรนด์การเปลี่ยนแปลงในอนาคต 20 ปีข้างหน้า ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในหัวข้อต่อไปนี้

  1. Online Learning goes mainstream worldwide 
  2. Influencer in the learning world 
  3. Splinternet – USA & China 

การวางกรอบนโยบายของหลักสูตรในอนาคต ผมแสดงความคิดเห็นว่า เราจะต้องหา balance ให้ได้ระหว่าง control & freedom

  • ในแง่หนึ่ง ถ้าเรา control ทุกอย่าง ก็คือสร้างหลักสูตรภาคบังคับ 12 ปี ที่มีการกำหนดเนื้อหาเหมือนกันทั่วประเทศ (หลักสูตรปัจจุบันก็เป็นหลักสูตรภาคบังคับ แต่ไม่ได้บังคับเนื้อหาเหมือนกันทั่วประเทศ หากแต่เป็นหลักสูตรแกนกลางที่เปิดช่องให้ปรับใช้ได้)
  • ในอีกแง่หนึ่ง ถ้าเราให้ freedom เต็มที่ก็จะไม่บังคับให้ใครเรียนวิทยาการคำนวณเลย เด็กเล็กถ้าไม่สนใจ จะไม่เรียนเลยก็ได้
  • ผมมองว่าหากพิจารณาถึงเหตุผลในการบังคับเด็กเรียนวิชาอื่น เช่น สุขศึกษา (โดยเฉพาะเรื่อง วิธีการแปรงฟัน หรือการข้ามถนน) เราจะพบว่าเหตุผลเช่นเดียวกันจะบ่งชี้ให้เราควรบังคับเด็กเล็กเรียนพื้นฐานของเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน ทั้งในแง่ของความปลอดภัย และทักษะการคิด
  • ดังนั้นกรอบหลักสูตรน่าจะวางไว้เป็น spectrum จากอนุบาล – อุดมศึกษา โดยในฝั่งเด็กเล็กเราอาจจะ assert control มากหน่อย จากนั้นก็ค่อยปล่อยมือ ให้อิสระมากขึ้น ค่อยเป็นค่อยไป ไล่ระดับไปจนถึงมัธยมปลายหรืออุดมศึกษาเราก็อาจจะให้ freedom แก่ผู้เรียนในการเลือกเรียน (หรือเลือกไม่เรียน) ในสิ่งที่สนใจอย่างเต็มที่
  • ส่ิงที่ debate กันได้คือ gradient ของการไล่ระดับนี้จะเป็นเช่นไร จะบังคับมากหรือน้อย จะค่อยๆ ให้อิสระทีละหน่อย หรือว่าจะให้อิสระอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้จะต้องคิดถึงประเด็นความปลอดภัยของผู้เรียน (โดยเฉพาะในโลกออนไลน์) และความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาประกอบด้วย

ผมได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยแห่งความสำเร็จ (success factors) 4 ข้อ ดังนี้

  1. ครูต้องมี incentives ที่จะสอนให้ดี (มากกว่าสอนให้ครบ)
  2. สื่อที่ดี ตัวอย่างการสอนที่ดี จะต้องค้นหาได้ง่าย
  3. กลยุทธ์ป่าล้อมเมือง – มุ่งเป้าพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนที่อยู่ชายขอบ ให้เกิดประโยชน์จริงแก่ผู้เรียน และให้เห็นภาพเด่นชัด ผู้ปกครองของเด็กในเมืองจะดิ้นรนตามมาเอง
  4. motivation ของเด็กที่เรียนวิชานี้ จะต้องไม่ใช่การสอบ 

นอกจากนี้ท่านผู้เข้าประชุมท่านอื่นก็ได้ให้ความคิดเห็นที่มีประโยชน์อีกมากมาย น่าติดตามรอดูบทสรุปของแนวนโยบายที่จะเผยแพร่โดยสภาการศึกษาต่อไปครับ

Pictures

ภาพบางส่วน:

ภาพเพิ่มเติมใน Google Photos: https://photos.app.goo.gl/JU1Fvh7iwQLTqnT97

Social Media Posts

วันนี้มาประชุมระดมสมอง การเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ ซึ่งเป็นงานของสภาการศึกษา มี อ. ยืน ภู่วรวรรณ เป็นหัวหน้าทีม…

Posted by พันธุ์ปิติ เปี่ยมสง่า on Saturday, 26 September 2020
https://www.facebook.com/punpiti/posts/10222483671145570

🔺 สกศ. รับฟังวิธีการสอน #Coding จากครู เพื่อปรับนโยบายให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 🔺วันนี้ (26 กันยายน…

Posted by OEC News สภาการศึกษา on Friday, September 25, 2020
https://www.facebook.com/OECSocial/posts/1055057731578044